บทความ WebThings Gateway ตอนที่ 1 สร้างเว็บไซต์ IoT ด้วย WebThings Gateway

บทความ WebThings Gateway ตอนที่ 1 สร้างเว็บไซต์ IoT ด้วย WebThings Gateway

WebThings Gateway

        บทความ WebThings Gateway เป็นบทความทเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์สำหรับควบคุมอุปกรณ์ IoT ของตัวเองโดยใช้บอร์ด Raspberry Pi (บอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเท่าบัตรเครดิต) เป็น Gateway ของอุปกรณ์ IoT ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรเเกรมให้ยุ่งยาก จัดการส่วนต่างๆด้วยการลากวางเท่านั้น รายละเอียดในบทความนี้จะเเบ่งเนื้อหาออกเป็น หลายๆส่วน ซึ่งจะเเยกออกบทความหลายบท เพื่อจะไม่ให้เนื้อหาในเเต่ละบทนั้นยาวเกินไป โดยจะประกอบด้วย

– บทความ WebThings Gateway ตอนที่ 1 สร้างเว็บไซต์ IoT ด้วย WebThings Gateway

– บทความ WebThings Gateway ตอนที่ 2 ใช้งาน Add-ons ต่างๆ บน WebThings Gateway

– บทความ WebThings Gateway ตอนที่ 3 ใช้งาน Rule เเละ Log ข้อมูล

– บทความ WebThings Gateway ตอนที่ 4 ส่งข้อมูลจากบอร์ด ESPino32 ไปยัง WebThings Gateway

– บทความ WebThings Gateway ตอนที่ 5 รับข้อมูลจาก WebThings Gateway มาควบคุมการทำงานบนบอร์ด ESPino32

        โดยทั่วไปเเล้วหากต้องการสร้างเว็บไซต์สำหรับควบคุมหรือเเสดงผล อุปกรณ์ IoT (Internet of Things) นั้น จะต้องใช้องค์ความรู้หลายๆ ส่วน เเละขั้นตอนในการทำค่อนข้างหลายขั้นตอนประกอบกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น จดทะเบียนเว็บไซต์ เขียนโปรเเกรมพัฒนาเว็บไซต์ กำหนดรูปแบบการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์เข้ากับเว็บไซต์ เขียนโปรเเกรมอ่านค่าเซ็นเซอร์หรือข้อมูลต่างๆ จากฝั่งอุปกรณ์ IoT เพื่อติดต่อสื่อสารเข้ากับเว็บไซต์ที่สร้างมาดังกล่าวผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งที่กล่าวมาเบื้องต้นคงพอเห็นเเล้วว่ามีขั้นตอนต่างๆมากพอสมควร เเละเเต่ละในขั้นตอนนั้นก็จะมีรายละเอียดย่อยๆ ลงไปอีก ดังนั้นบทความนี้จะมาสอนทำเว็บไซต์ IoT เเบบง่ายๆ ด้วย Webthings Gateway

WebThings Gateway คืออะไร

        WebThings Gateway คือ Open Source Program จากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือได้อย่าง mozilla มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ IoT เช่น Smart Plug, IP Camera, Door Detector, Smart Lamp และอุปกรณ์อื่นๆ ภายในวง LAN ของเราเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตผ่านช่องทาง Wi-Fi, LAN, สัญญาณเครือข่าย 3G, สัญญาณเครือข่าย 4G, สัญญาณเครือข่าย 5G หรืออื่นๆ โดยอินเตอร์เฟสที่สื่อสารระหว่าง WebThings Gateway กับผู้ใช้งานจะสื่อสารผ่านทางหน้าเว็บไซต์ที่เรากำหนด URL ขึ้นมาเอง* ดังนั้นเราจึงสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อดูการทำงานและสามารถสั่งงานอุปกรณ์ IoT เเบบเรียลไทม์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ได้ในทันที ดังรูป ตัวอย่างการทำงานของ Webthings Gateway

ตัวอย่างการทำงานของ Webthings Gateway

 

WebThings Gateway รองรับในอุปกรณ์ไหนบ้าง

        ในปัจจุบัน WebThings Gateway รองรับการทำงานใน 3 Platform คือ Raspbian Linux บนบอร์ด Raspberry PiLinux OS เเละ Docker ดังนั้นผู้ใช้สามารถเลือกได้เลยว่าต้องการใช้งาน WebThings Gateway บนเเพลตฟอร์มใด เเต่ภายในบทความนี้เราจะโฟกัสไปที่บอร์ด Raspberry Pi (เเนะนำเป็น Raspberry Pi Model 3BRaspberry Pi Model 3B+Raspberry Pi Model 4B ขึ้นไป)

Webthings Gateway บน Platform ที่รองรับ

อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการติดตั้ง WebThings Gateway บน Raspberry Pi

1. Raspberry Pi 3 Model B+ (EFDV647) จำนวน 1 pcs Single Board Computer จาก Raspberry Pi Foundation ใช้ชิพ Broadcom BCM2837B0 Quad-Core ARM Cortex-A53 (ARMv8) ความเร็ว 1.4 GHz มีหน่วยความจำ LPDDR2 SDRAM ขนาด 1 GB พร้อมชิพ Cypress CYW43455 Dual-Band Wi-Fi 2.4 GHz / 5GHz และ Bluetooth 4.2 BLE

2. Official Wall Adapter Power Supply (EPWS061) จำนวน 1 pcs อแดปเตอร์จ่ายไฟแบบ micro usb ขนาดเเรงดัน 5.1 โวลต์ 2.5 เเอมป์ สำหรับบอร์ด Raspberry Pi 

3. SanDisk Ultra microSDHC UHS-I Card 32 GB (EACC093) จำนวน 1 pcs หน่วยความจำ microSD Card ขนาด 32 GB (C10 U1 A1) ความเร็วมาตรฐาน Read Speed: up to 98MB/s สำหรับใช้งานร่วมกับบอร์ด Raspberry Pi หรือบอร์ดอื่นๆ

4. Micro SD Card Reader จำนวน 1 pcs อุปกรณ์เชื่อมต่อ Micro SD Card เข้ากับคอมพิวเตอร์ สำหรับทำ Image OS ให้บอร์ด Raspberry Pi

ขั้นตอนการติดตั้งและใช้งาน WebThings บน Raspberry Pi

        หลังจากรู้จักว่า Webthings Gateway คืออะไร เเละหาอุปกรณ์ต่างๆสำหรับใช้งานได้เเล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ Build image ของ WebThings Gateway ลง Micro SD Card เพื่อที่จะนำไปใช้งานกับบอร์ด Raspberry Pi ที่จะทำงานเป็น Server ของ WebThings Gateway ต่อไป (*ขั้นตอนนี้จะต้องมีระบบอินเทอร์เน็ตเช่น WiFi หรือ Lan ให้เเก่ตัวบอร์ด Raspberry Pi ด้วย)

1. ดาวน์โหลด Image จาก Mozilla IoT website.

2. Flash Image ลงบน Micro SD Card

3. เปิดใช้งาน WebThings บน Raspberry Pi

4. เชื่อมต่อ WiFi ของ WebThings

5. เชื่อมต่อเข้ากับ WebThings Gateway ผ่านทาง IP หรือ http://gateway.local

6. ตั้งค่า Subdomain (***ข้อควรระวัง ถ้าขั้นตอนนี้ทำไม่สำเร็จ ต้องทำ Image ใหม่อีกครััง***)

7. สร้าง User Account

8. พร้อมใช้งาน 

        เพียงเท่านี้เราก็จะได้เว็บไซต์ IoT ที่เรากำหนด URL ของเว็บไซต์ได้เอง (สามารถเข้าถึงได้จาก Subdomain ในขั้นตอนที่ 6) ดังตัวอย่างในรูป ThaiEasyElec WebThings Gateway ในบทความนี้จะมีเนื้อหาเป็นการติดตั้ง WebThings เพื่อให้สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้ก่อน จากนั้นในบทความถัดไปจะเป็นส่วนของการติดตั้งใช้งาน Add-ons ต่างๆ เบื้องต้น เพื่อเป็น Widget สำหรับเเสดงสถานะการทำงาน ควบคุมอุปกรณ์ หรือทำ Smart Home ที่ควบคุมได้ผ่านเว็บไซต์ต่อไป

ThaiEasyElec WebThings Gateway 

>>> อ่านต่อ ตอนที่ 2 ใช้งาน Add-ons ต่างๆ บน WebThings Gateway  <<<

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก

– https://iot.mozilla.org/