Preview บอร์ด Raspberry Pi 400 Personal Computer เร็วกว่า เย็นกว่า พร้อมใช้งานยิ่งกว่าเดิม!!!

Preview บอร์ด Raspberry Pi 400 Personal Computer เร็วกว่า เย็นกว่า พร้อมใช้งานยิ่งกว่าเดิม!!!

>>> คลิกดูรายละเอียดสินค้า EFDV778 Raspberry Pi 400 <<<

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา Raspberry Pi Foundation ได้เปิดตัว Raspberry Pi 400 ซึงคราวนี้มาพร้อมกับสโลแกนใหม่คือ Personal Computer บอร์ดคอมพิวเตอร์ Linux ที่มีรูปลักษณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยเป็นตัวบอร์ดเปล่าๆ มาเป็นบอร์ดคอมพิวเตอร์ที่มาพร้อมคีย์บอร์ดแบบ 78-key mini US Layout Keyboard ให้พร้อมใช้งานในระดับหนึ่งเลยทีเดียว (ไม่ต้องหา Case, Heatsink และ Keyboard มาเพิ่มเติม)

อุปกรณ์ของ Raspberry Pi 4 เทียบกับ Raspberry Pi 400

Raspberry Pi 400 มากับราคาที่ทุกคนจับต้องได้ ทำให้บอร์ดตัวนี้น่าสนใจยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับการศึกษาเรียนรู้การเขียนโปรเเกรม มีขา GPIO สำหรับต่อใช้งานร่วมกับเซ็นเซอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ อีกทั้งยังเป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กๆ หรือผู้ที่สนใจทั้งภายในประเทศของเราและต่างประเทศ เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีกลุ่มคอมมูนิตี้ขนาดใหญ่สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลการใช้งานกันอย่างหลากหลาย และตัวบอร์ดยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอด ถือได้ว่าเป็นบอร์ดอย่างนึงที่มาเเรงเลยทีเดียว

หากมองในด้านของประสิทธิภาพการใช้งาน แน่นอนว่าบอร์ด Raspberry Pi 400 เวอร์ชันใหม่นี้ต้องมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าบอร์ดรุ่นก่อนหน้านี้อย่างแน่นอน ทางทีมงานได้พอมีโอกาสใช้งานตัวบอร์ด Raspberry Pi 400 เบื้องต้นมาบ้างเเล้วก็จะมาเล่าสู่กันฟังในหลายๆส่วน ไปดูกันดีกว่าครับเนื้อหาภายในบทความนี้จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ด้านรายละเอียดตัวอุปกรณ์

          Raspberry Pi 400 (ราสพ์เบอร์รี่ พาย โฟร ฮันด์เดร็ด (ในสากล) หรือ “ราสพ์เบอร์รี่ พายสี่ร้อย” หรือจะเรียกสั้นๆว่า “พายสี่ร้อย” ก็ได้เช่นกันแล้วเเต่สะดวกไม่มีผิดถูกแต่อย่างใด) มาดูในส่วนของพอร์ทการเชื่อมต่อทั่วไป  Raspberry Pi 400 มีพอร์ทต่างๆดังนี้

พอร์ทต่างๆของ Raspberry Pi 400

  1. Kensington Lock ช่องล็อกกันขโมย
  2. Gigabit Ethernet
  3. USB 3.0 จำนวน 2 ช่อง และ USB 2.0 จำนวน 1 ช่อง
  4. USB Type C สำหรับจ่ายไฟเลี้ยง จำนวน 1 ช่อง
  5. Micro HDMI พอร์ท จำนวน 2 ช่อง
  6. Micro SD Card Slot จำนวน 1 ช่อง

CPU ตัวใหม่ เร็วกว่าเดิม

 ในส่วนของหัวสมองหลักในบอร์ด Raspberry Pi 400 ยังคงมาพร้อมกับซีพียูตระกูลเดิมคือ Broadcom 64-bit ARM Cortex-A72 (ARMv8), Quad-core รหัสซีพียูเบอร์ BCM2711C0 ความเร็ว 1.8GHz ซึ่งเเน่นอนว่าเร็วกว่า Raspberry Pi 4 (@1.5 GHz) ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ มาพร้อมกับอลูมิเนียมครอบสำหรับกระจายความร้อนเช่นเดียวกับเวอร์ชันก่อนหน้า เเต่เพิ่มฮีทซิงค์ขนาดใหญ่มาระบายความร้อนอีกทีทำให้จัดการในเรื่องอุณหภูมิได้เป็นอย่างดี

ถ้าถามว่า Raspberry Pi 400 จัดการในเรื่องอุณหภูมิได้ดีตามโฆษณา หรือเปล่า อันนี้คือผลทดสอบที่ทีมงานได้ทำการ Stress Testing CPU ให้ทำงานเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ในห้องเเอร์ 25 องศาเซลเซียส ดังรูป Raspberry Pi 400 Stress Test จะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดเเค่ 52 องศาเซลเซียสเท่านั้น ดังนั้นการใช้งานทั่วไปอุณหภูมิไม่สูงไปกว่านี้แน่นอน ไม่มี Overheat ชัว!!!  

(หมายเหตุ *อุณหภูมิอาจเพิ่มขึ้นบ้างตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป)

Raspberry Pi 400 Stress Test

USB, Ethernet และการเชื่อมต่ออื่นๆ

Raspberry Pi 400 ใช้ชิพ USB Hub เบอร์ VLI VL805 ที่เช่นเดียวกับ Raspberry Pi 4 model B ซึ่งวิ่งอยู่บน PCI Express bus ทำให้สามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 5Gbps และที่ยิ่งกว่านั้นบอร์ด Raspberry Pi 3 model B plus, Raspberry Pi4 model B และ Rasberry Pi 400 ยังสามารถบูต OS ผ่าน USB Boot ได้ (รองรับ Flash Drive, Trum Drive, External Hardrive, SSD) ทำให้ความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูลเร็วมากยิ่งขึ้น ไม่เป็นปัญหาคอขวด เพราะติดปัญหาความเร็วของ Micro SD Card อีกต่อไป

ชิพ USB Hub บน Raspberry Pi 400

 ในส่วนของ LAN ใช้ชิพ Gigabit Ethernet เบอร์ BCM54213PE จาก Broadcom ซึ่งเป็นเบอร์เดียวกันกับ Raspberry Pi 4 (*แต่ Raspberry Pi 400 ไม่รองรับ PoE) อยู่บน USB Hub VLI VL805 ที่วิ่งอยู่บน PCI Express bus ทำให้ทำความเร็วได้สูงระดับ Gigabit เลยทีเดียว

ชิพ Gigabit Ethernet บน Raspberry Pi 400

ในส่วนของการเชื่อมต่อไร้สายของบอร์ด Raspberry Pi 400 ใช้งานโมดูล RPi-RM0 สายรองรับ  Wi-Fi 2.4GHz/5GHz มาตรฐาน IEEE 802.11.b/g/n/ac และ Bluetooth เวอร์ชัน 5.0 and BLE (Bluetooth Low Energy) Antenna จะเป็น PCB niche antenna design อยู่บริเวณด้านข้างของตัวโมดูล

RPi-RM0 บน Raspberry Pi 400

Memory

          Raspberry Pi 400 มาพร้อมกับ RAM Bus 3200 จากค่าย SAMSUNG ขนาด 4GB โดยมีให้เลือกเพียงรุ่นเดียวเท่านั้น ซึ่งเเตกต่างจาก Raspberry Pi 4 model B ที่มีหลายรุ่นให้เลือกใช้งานตั้งแต่ RAM Bus 2400 รุ่น 1GB, 2GB, 4GB และ 8 GB แต่สำหรับการใช้งาน Raspberry Pi 400 แบบทั่วไปนั้น RAM ขนาด 4GB ก็เพียงพอสำหรับการใช้งานเกือบทุกอย่างเเล้ว

GPIO

          Raspberry Pi 400 ยังคงมีขา GPIO 40 Pin ซึ่ง compatible กับรุ่นก่อนหน้า สามารถต่อใช้งานเซ็นเซอร์ หรือใช้งานเป็น Input/Output ให้กับตัวบอร์ดได้เหมือนเดิม แต่มีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถจ่ายไฟเข้ามาทางช่อง 5V เพื่อเลี้ยงตัวบอร์ดเหมือน Raspberry Pi 4 model ได้

GPIO 40 Pin

ตารางเปรียบเทียบระหว่าง Raspberry Pi และ Raspberry Pi 4 Model B

ระบบปฎิบัติการที่รองรับ

          Raspberry Pi 400 จะมีระบบปฏิบัติเฉพาะสำหรับตัวบอร์ดนั่นคือ Raspberry Pi OS ซึ่งเป็นพื้นฐานอยู่บน Buster (Debian 10) Kernel 5.4.51 ขึ้นไป แนะนำให้ใช้งาน OS ที่ออกมาหลังวันที่ 2020-08-20 เป็นต้นไป โดยสามารถดูการติดตั้งเพิ่มเติมได้ที่ Raspberry Pi OS – Raspberry Pi

รายการ OS ที่สามารถใช้งานร่วมกับบอร์ด Raspberry Pi 400 ได้

Personal Computer

          ในส่วนของการใช้งานเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของ Raspberry Pi 400 ขออ้างอิงกับการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการ Raspberry Pi OS ซึ่งเป็นตัวระบบปฏิบัติการที่ปรับแต่งมาให้ทำงานบน Raspberry Pi ทุกเวอร์ชันโดยเฉพาะ และมี “โปรเเกรมฟรีให้ใช้งาน” หลายอย่าง เช่นเดียวกับโปรแกรมในฝั่ง Windows, macOS หรือระบบปฏิบัติการอื่นๆ มาดูตัวอย่างโปรเเกรมที่ใช้งานในแต่ละอย่างกันดีกว่า

“LibreOffice Writer” ซอร์ฟแวร์จัดการด้านเอกสาร

“LibreOffice Cals” ซอร์ฟแวร์ตารางคำนวณ หรือเสปรตชีต (Spreadsheet)

“LibreOffice Impress” ซอร์ฟแวร์จัดการสื่อการนำเสนอ

“GIMP” ซอร์ฟแวร์ตกแต่งภาพ

“Chromium Web Browser” ซอร์ฟแวร์เว็บบราวด์เซอร์

“Scratch” ซอร์ฟแวร์เขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

Recommended Software แหล่งรวมซอร์ฟแวร์แนะนำสำหรับ Raspberry Pi 400

“VLC media player” โปรแกรมเล่นสื่อ

“Minecraft” เกม Minecraft บน Raspberry Pi

ในส่วนของ Memmory หรือ RAM ที่ตัวบอร์ด Raspberry Pi 400 ที่ให้มา 4GB นั้น สามารถรองรับการทำงานโปรเเกรมหลายๆอย่างได้เป็นที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างที่จะแสดงให้เห็นคือ Task Manager ที่เเสดงให้เห็นถึงเปอร์เซ็นการทำงานของ CPU และ RAM ขณะที่เปิดหลายๆโปรเเกรม ดังภาพ

       สุดท้ายนี้ทางทีมงาน ThaiEasyElec หวังว่า พรีวิวนี้จะพอทำให้รู้จักส่วนต่างๆ และการใช้งาน Raspberry Pi 400 เพิ่มขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย ส่วนการใช้งานอื่นๆ ทางทีมงานจะแนะนำเพิ่มเติมต่อไปในโอกาสหน้าครับ

ติดต่อเรา

บริษัท วีนัส ซัพพลาย จำกัด

66/3 ถ.เทศบาลรังสรรค์เหนือ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900

Website : www.thaieasyelec.com

บริษัท วีนัส ซัพพลาย จำกัด

66/3 ถ.เทศบาลรังสรรค์เหนือ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900

Website : www.thaieasyelec.com

Tel. 02-9542408-9, 089-5148111

Fax. 02-9538443

E-mail : sales@thaieasyelec.com

Line ID : @thaieasyelec