Tony S BC95-G NB loT module Dock

ส่วนประกอบของโมดูล

ประกอบไปด้วย 5 ส่วนคือ Connector Pin Header , Connector Socket , โมดูล BC95-G , Nano SIM socket และ footprint for eSIM

ส่วนประกอบด้านบนของโมดูล BC95-G

ส่วนประกอบด้านล่างของโมดูล BC95-G

Schematic Connector ด้านบนและด้านล่าง ทั้งสองข้างของโมดูล

เมื่อเรามองจากส่วนประกอบ ด้านบน ของโมดูล BC95-G (ภาพด้านล่าง) สังเกตว่า 

Connector Socket ฝั่งซ้ายคือ Schematic J2  Connector Socket ฝั่งขวาคือ Schematic J5

และเมื่อพลิกโมดูลดู ด้านล่าง จะพบว่า

Connector Pin Header ฝั่งซ้ายคือ Schematic J4  Connector Pin Header ฝั่งขวาคือ Schematic J1

ทำให้ตำแหน่ง J1 และ J4 สลับด้านกัน ในส่วนของ Schematic BOTTOM กับภาพจริงด้านล่าง นอกจากนี้ สัญลักษณ์สามเหลี่ยม ที่มุมขวาล่าง (ในกรอบสี่เหลี่ยมสีส้ม) ของด้านบนโมดูลหมายถึง MAIN SERIAL คือการเลือกใช้ SLOT ที่เสียบลงไปในบอร์ด Tony ซึ่ง MAIN SERIAL คือ J4 และ J5

Connector Pin Header ด้านล่าง

Connector Pin Header ด้านล่าง 

เมื่อพลิกดูโมดูล BC95-G ดูด้านล่าง จะพบลูกศรชี้ลง (ในวงกลมสีส้มภาพด้านบน) อยู่ที่บนขวาของ Connector Pin Header อยู่ตำแหน่งด้านขวามือหมายถึง ขาที่เป็นเลขคี่ใน Schematics J1 เมื่ออยู่ด้านล่างของ PCB จะอยู่ทางด้านขวา ส่วนขาที่เป็นเลขคู่จะอยู่ทางด้านซ้าย ตัวอย่างเช่น ขาที่ 1 ที่เป็น 5V จะอยู่ทางด้านขวาส่วนขาที่ 2 ที่เป็น 3.3V จะอยู่ทางด้านซ้าย เป็นต้น

Connector Pin Header ด้านล่าง

ในส่วนของ Connector Pin Header ด้านล่าง จะพบลูกศรชี้ขึ้น (ในวงกลมสีส้มภาพด้านบน) ที่ตำแหน่งด้านล่างซ้ายของ Connector Pin Header ทำให้ขาที่เป็นเลขคี่ใน schematic J4 อยู่ฝั่งซ้าย ขาที่เป็นเลขคู่จะอยู่ทางด้านขวา และเรียงลำดับจากด้านล่างขึ้นด้านบน

Connector Socket ด้านบน

Connector Socket ด้านบน

เมื่อพลิกกลับมาด้านบนของโมดูลจะพบลูกศรชี้ลง (ในวงกลมสีส้มภาพด้านบน) อยู่ที่บนซ้ายของ Connector Socket ขาที่เป็นเลขคี่ใน Schematics จะอยู่ด้านซ้าย ส่วนขาที่เป็นเลขคู่จะอยู่ด้านขวาของคอนเน็คเตอร์ทำให้ตรงกันกับ Schematic J2 (ภาพด้านบน)

สำหรับขา 13 ของ Connector ด้านบน จะเป็น DioNext_1 เน็ตเดียวกันกับขา 14 (DioNext_1) จากด้านล่าง (Schematic J1) เพื่อใช้เชื่อมต่อไปยังบอร์ดชั้นต่อไปหากมีการเสียบใช้งาน ส่วนขา 14 ของ Connector ด้านบนจะไม่มีการเชื่อมต่อ (No Connection) มาจากชั้นด้านล่าง

สำหรับขา 15 ของ Connector ด้านบน จะเป็น AioNext_1 เน็ตเดียวกันกับขา 16 (AioNext_1) จากด้านล่าง (Schematic J1) เพื่อใช้เชื่อมต่อไปยังบอร์ดชั้นต่อไปหากมีการเสียบใช้งาน ส่วนขา 16 ของ Connector ด้านบนจะไม่มีการเชื่อมต่อ (No Connection) มาจากชั้นด้านล่าง

Connector Socket ด้านบน

จากภาพด้านบน (ในวงกลมสีส้มภาพด้านบน) ลูกศรชี้ขึ้นอยู่ที่ล่างขวาของ Connector Socket ขาที่เป็นเลขคี่ใน Schematics จะอยู่ด้านขวา ส่วนขาที่เป็นเลขคู่จะอยู่ด้านซ้ายของคอนเน็คเตอร์ นอกจากนี้ขาทั้งหมด (ภาพจริง) จะกลับหัวสลับกันกับ Schematic J5 (ภาพด้านบน)

สำหรับขา 13 ของ Connector ด้านบน จะเป็น DioNext เน็ตเดียวกันกับขา 14 (DioNext) จากด้านล่างเพื่อใช้เชื่อมต่อไปยังบอร์ดชั้นต่อไปหากมีการเสียบใช้งาน ในส่วนของขา 14 ของ Connector ด้านบนจะไม่มีการเชื่อมต่อ (No Connection) มาจากชั้นด้านล่าง

สำหรับขา 15 ของ Connector ด้านบน จะเป็น AioNext เน็ตเดียวกันกับขา 16 (AioNext) จากด้านล่างเพื่อใช้เชื่อมต่อไปยังบอร์ดชั้นต่อไปหากมีการเสียบใช้งาน และในส่วนของขา 16 ของ Connector ด้านบนจะไม่มีการเชื่อมต่อ (No Connection) มาจากชั้นด้านล่าง

โมดูล BC95-G

เป็นโมดูลประสิทธิภาพสูง ใช้พลังงานน้อย ขนาดเล็กกะทัดรัด 23.6 มม. x 19.9 มม. x 2.2 มม. รองรับคลื่นความถี่ได้หลากกหลาย Band (B1/B3/B8/B5/B20/B28) สามารถทำงานที่อุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียล ถึง 85 องศาเซลเซียล

Esim และ Nano sim

โมดูล BC95-G รองรับการใช้การได้ทั้ง Nano SIM และ eSIM (เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่สามารถใช้ในเวลาเดียวกันได้)

หากใช้งาน Nano SIM ก็สามารถซื้อ NB-IoT SIM card จากผู้ให้บริการมาเสียบใช้งานได้

หากใช้งาน eSIM สามารถติดต่อกับผู้ให้บริการที่จำหน่าย eSIM สำหรับอุปกรณ์ NB-IoT แล้วบัดกรีลงบนบอร์ดได้เช่นกัน

**หมายเหตุ** nano SIM และ/หรือ eSIM ที่นำมาใช้งานจะต้องเป็นแพ็คเกจสำหรับ NB-IoT เท่านั้น (ค่าบริการปีละประมาณ 3xx บาท) ไม่สามารถใช้กับ SIM ที่ใช้งาน Internet บนเครือข่าย 3G หรือ 4G แบบปกติที่เรานำมาใช้กับ Smartphone หรือ Tablet ได้