รีวิวพร้อมวิธีการใช้งานเบื้องต้น Spark Core with Chip Antenna by ThaiEasyElec

รีวิวพร้อมวิธีการใช้งานเบื้องต้น Spark Core with Chip Antenna by ThaiEasyElec

00

Spark Core with Chip Antenna (รหัสสินค้า EFDV292) คือ บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ขนาดเล็กที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้สร้างแอพพลิเคชั่นที่สามารถเชื่อมต่อ และควบคุมฮาร์ดแวร์ผ่านอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยมีจุดเด่นที่สามารถเขียนโค้ดและโปรแกรมผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ใช้ภาษา Wiring ในการพัฒนาซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย และเป็นภาษาที่คุ้นเคยสำหรับผู้ที่ใช้งานบอร์ด Arduino ทั้งยังมีแอพพลิเคชั่นสำหรับตั้งค่าการเชื่อมต่อ Spark Core with Chip Antenna กับอินเตอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนด้วยระบบปฏิบัติการ iOS และ Android

เริ่มต้นใช้งาน Spark Core with Chip Antenna
1. จ่ายไฟให้ Spark Core ผ่านทางสาย Micro USB แล้ว LED แสดงสถานะบนบอร์ดจะกระพริบเป็นสีน้ำเงิน หาก LED บนบอร์ดไม่กระพริบให้กดปุ่ม Mode ค้างเอาไว้จนกว่า LED จะกระพริบเป็นสีน้ำเงิน

02

2. ตั้งค่าเชื่อมต่อ Spark Core กับ Access Point (AP) เพื่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต สามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ
– ตั้งค่าผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน
– ตั้งค่าผ่าน USB (USB to Serial)
*** ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงวิธีการเชื่อมต่อโดยใช้แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน สำหรับผู้ที่สนใจการตั้งค่าผ่านUSB สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://docs.spark.io/connect/#connecting-your-core-connect-over-usb
2.1 ตั้งค่าผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน
– เชื่อมต่อสมาร์ทโฟนเข้ากับ AP ที่ใช้งานร่วมกับ Spark Core โดยที่ AP ตัวดังกล่าวนี้ต้องสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้
– ติดตั้งแอพพลิคชั่นบนสมาร์โฟน สามารถ Download ได้จาก AppStore บน iOS หรือ Google Play บน Android โดยค้นหา App ที่ชื่อ “Spark Core”
iOS : https://itunes.apple.com/us/app/spark-core/id760157884
Android : https://play.google.com/store/apps/details?id=io.spark.core.android

03

– เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วเปิดโปรแกรม Spark Core ขึ้นมา จะขึ้นหน้าจอให้เราใส่ E-mail และ Password สำหรับ LOG IN เข้าสู่ระบบ หากใช้งานเป็นครั้งแรกให้เลือกที่หัวข้อ “I don’t have an account” เพื่อลงทะเบียนใช้งาน หรือเข้าไปสมัครใช้งานโดยตรงที่ https://www.spark.io/login 

05

– เมื่อลงทะเบียนใช้งานเรียบร้อยแล้ว ให้ล็อกอินเข้าระบบ แอพพลิเคชั่นจะแสดงหน้าจอดังนี้

– เลือกไอคอนเชื่อมต่อ Wireless ด้านล่างของหน้าจอ

07

– ใส่ SSID และ Password ของ AP ตามที่เราใช้งานอยู่ แล้วกดปุ่ม CONNECT แล้วรอสักครู่

– สังเกต LED แสดงสถานะบนบอร์ด Spark Core จะแสดงสีมีความหมายดังนี้ 
        – ไฟกระพริบสีน้ำเงิน หมายถึง กำลังรอการเชื่อมต่อกับ AP
        – ไฟสีน้ำเงินติดค้าง หมายถึง กำลังเชื่อมต่อกับ AP
        – ไฟกระพริบสีเขียว หมายถึง สามารถเชื่อมต่อกับ AP ได้แล้ว
        – ไฟกระพริบสีฟ้า หมายถึง กำลังเชื่อมต่อกับ Spark Cloud
        – ไฟกระพริบสีม่วงแดง หมายถึง กำลัง Update Firmware ใหม่
        – ไฟติดสีฟ้าแล้วค่อยหรี่ หมายถึง สามารเชื่อมต่อได้แล้ว
– ตั้งชื่อให้กับ Spark Core ของเราตามที่ต้องการ

– โปรแกรมจะย้อนกลับมาที่หน้าจอหลักซึ่งจำลองขาสัญญาณ (Pin) ต่างๆ ของ Spark Core เอาไว้ โดยแบ่ง ออกเป็นสองฝั่ง คือ ทางฝั่งซ้ายใช้ตัวอักษร A นำหน้า ได้แก่ A0 ถึง A7 เป็นขาสัญญาณที่เป็น Analog อินพุตและเอาต์พุต (เป็น Analog เอาต์พุตแบบ PWM ยกเว้นขา A2 และ A3 เป็นได้เฉพาะอินพุต) และเป็น Digital อินพุตและเอาต์พุต 
           ทางฝั่งขวาขึ้นต้นด้วยตัวอักษร D ได้แด่ D0 ถึง D7 สามารถใช้งานสัญญาณ Digital อินพุตและเอาต์พุตได้เท่านั้น (ยกเว้น D0 กับ D1 สามารถทำ Analog เอาต์พุตแบบ PWM ได้) ซึ่งผู้ใช้สามารถทดสอบสั่งงานขาต่างๆ ของ Spark Core ได้โดยกดหน้าจอที่ตำแหน่งของขาที่ต้องการแล้วตั้งค่าโหมดการทำงาน

– ทดลองสั่งงานเปิด-ปิด LED ที่ D0 ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน
          ต่อวงจร LED เข้ากับ Spark Core ดังนี้

  กดที่ตำแหน่ง D0 ที่หน้าจอค้างไว้เพื่อเปลี่ยนโหมดการทำงาน

12

  เลือกโหมดการทำงานเป็น digitalWrite

13

  กดหน้าจอที่ตำแหน่ง D0 เพื่อสั่งเอาต์พุต HIGH จะเห็นว่าหลอด LED ติดขึ้น

  กดหน้าจอที่ตำแหน่ง D0 ซ้ำอีกครั้งเพื่อสั่งเอาต์พุต LOW จะเห็นว่าหลอด LED ดับลง

– ทดลองสั่งงานปรับความสว่าง LED ที่ D0 ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน
          ต่อวงจร LED แบบเดียวกับทดลอง เปิด/ปิด LED
          กดที่ตำแหน่ง D0 ที่หน้าจอค้างไว้เพื่อเปลี่ยนโหมดการทำงาน

16

  เลือกโหมดการทำงานเป็น analogWrite

17

  ทดลองเลื่อนสไลด์บาร์ที่ตำแหน่ง D0 จะพบว่า LED สว่างและหรี่ตามการสไลด์

18

2.2 ตั้งค่าผ่านสาย USB (USB To Serial)
        – ดาวน์โหลดไดร์ฟเวอร์จาก https://s3.amazonaws.com/spark-website/Spark.zip
        – เชื่อมต่อ Spark Core เข้ากับคอมพิวเตอร์ผ่านทางสาย USB 
        – สังเกต LED แสดงสถานะที่ Spark Core ให้อยู่ในสถานะ Listening Mode (ไฟกระพริบสีน้ำเงิน) หาก Spark Core อยู่ในสถานะอื่นให้ก็กดปุ่ม MODE ค้างเอาไว้จนเข้าสู่สถานะ Listening Mode
        – ติดตั้งไดร์ฟเวอร์ที่ดาวน์โหลดมา
        – เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบที่ Device Manager จะแสดง Serial Port ของ Spark Core ดังรูป ให้จำหมายเลข Com Port ของ Spark Core ไว้ใช้ในหัวข้อถัดไป

19

– ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม Putty
http://www.chiark.greenend.org.uk/~sgtatham/putty/download.html
        – เปิดโปรแกรม Putty และตั้งค่าดังนี้
                – เลือก Connection Type เป็น Serial
                – ตั้ง Serial line เป็น Comport ของ Spark Core
                – ตั้ง Speed เป็น 9600
                – คลิกที่ Open

20

 – คำสั่งที่ใช้งานในโหมดนี้ จะมีอยู่ 2 คำสั่ง คือ
                – ‘w’ = ตั้งค่าเชื่อมต่อ Wi-Fi กำหนด SSID และ Password
                – ‘i’ = แสดงค่า id ของบอร์ด Spark Core ที่ใช้ในการแสดงตัวตนของบอร์ดกับ Cloud
        – ลองกด i บน Putty ตัว Spark Core จะตอบหมายเลข ID กลับมา แนะนำให้จดหมายเลขนี้เอาไว้ เพราะการตั้งค่าโดยใช้ USB ผู้ใช้จะต้องนำเลข ID ไปกรอกในส่วนของ Core บน WEB IDE ในหัวข้อถัดไป

21

 – ตั้งค่า Wi-Fi โดยกด w ใน Putty ตัว Spark Core จะให้เรากำหนดชื่อ SSID ที่ต้องการเชื่อมต่อ จากนั้นเลือกชนิดของ Security ที่ AP ใช้ และสุดท้ายให้ใส่ Password รอสักครู่ จนกว่าไฟแสดงสถานะของ Spark Core ไฟกระพริบเป็นสีฟ้า

22

การพัฒนาโปรแกรมบน Web IDE บน Cloud
          การเขียนโปรแกรมพัฒนาแอพพลิเคชั่นของ Spark Core ต้องเขียนโดยใช้ IDE บน Web IDE ของ Spark IO โดยเข้าไปที่ https://www.spark.io แล้วเลือกเมนู LAUNCH ด้านบนสุดขวามือหรือเข้าไปที่ https://www.spark.io/build

23 1

– ล็อกอินเข้าใช้งาน หากไม่มีให้สมัครโดยกดที่ Don’t have an account? Create one now!

24

– เมื่อล็อกอินเข้าไปเรียบร้อยแล้วจะเห็นหน้าต่างของ Web IDE ดังนี้

25

– เมนูต่างๆ บน Web IDE
–  Flash ใช้สำหรับ Upload Program (Over The Air) ไปยังบอร์ด Spark Core

–  Verify ใช้สำหรับ Compile Code Program

–  Save ใช้สำหรับบันทึก Source Code

–  Code ใช้สำหรับเขียนและแก้ไข Source Code

–  Library เป็นที่เก็บ Code ของ Library ต่างๆ

–  Doc เป็น Link สำหรับเข้าไปอ่านเอกสารและวิธีใช้งาน

–  Core เป็นส่วนแสดงและเลือกบอร์ด Spark Core ที่ต้องการโปรแกรมลงไป

–  Setting ใช้สำหรับเปลี่ยนรหัสผ่าน ออกจากระบบ และสร้าง Token ID สำหรับใช้งาน API Calls
ทดลองสร้างแอพพลิเคชั่น Blink บน Web IDE
– ต่อวงจร LED ตามตัวอย่างการทดลองสั่งงานเปิด-ปิด LED ที่ Pin D0 ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน
– ไปที่เมนู Code 
– ตั้งชื่อแอพพลิเคชั่น “blink”

35

– เขียนโค้ดโปรแกรมลงไปดังนี้?

int led = D0;
void setup(){
pinMode(led, OUTPUT);
}
void loop(){
digitalWrite(led, HIGH);
delay(1000);
digitalWrite(led, LOW);
delay(1000);              
}
36

– คลิกที่ Save 

– คลิกที่ Verify 
หาก Compile และ Verify สำเร็จจะแสดงสถานะ 
– คลิกที่ Core  เพื่อตรวจสอบดูว่า Spark Core อยู่ในสถานะ Connect อยู่หรือไม่ ถ้าไม่ก็ให้ Add new core เข้าไป

41

– คลิกที่ Flash  เพื่อ Program ลงไปยัง Spark Core

43

– สังเกตสี LED ที่ Spark Core 
        – ไฟกระพริบสีม่วงแดง หมายถึง กำลัง Update Firmware ใหม่
        – ไฟติดแล้วค่อยหรี่ลง สีฟ้า หมายถึง สามารถ Program สำเร็จแล้ว
– สังเกต วงจร LED ที่ต่อไว้ที่ Pin D0 จะกระพริบทุกๆ 1วินาที ตาม Code ที่เขียนบน WEB IDE